ประวัติภาษาสันสกฤต

ประวัติภาษาสันสกฤต

           เมื่อราว 1,200 ปีก่อน ค.ศ. อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าในลัทธิพราหมณ์ในยุคต้นๆ ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้างๆ ราว 57 ปีก่อน พ.ศ. พราหมณ์ชื่อ “ปาณินิ” ชาวแคว้นคันธาระ ท่านเห็นว่าภาษาสันสกฤตแบบพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามา หากไม่เขียนไวยากรณ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนไว้จะคละกับภาษาถิ่น ปาณินิได้ศึกษาและจัดเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บท ชื่อว่า “อัษฏาธยายี” (ธนกฤต  พรหมศิริ. ออนไลน์. 2560) ภาษาที่ปรับปรุงใหม่นี้เรียกว่า “ตันติสันสกฤต” หรือ สันสกฤตแบบแผน วรรณคดีสันสกฤตแบบแผนที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมากคือ มหาภารตะและรามายณะ ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการมาจากภาษาพระเวทที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท ภาษาสันสกฤตอีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า ภาษาสันสกฤตผสม หรือ ภาษาสันสกฤตผสมในพุทธศาสนา เป็นภาษาสันสกฤตยุคหลังถัดจากภาษาสันสกฤตแบบแผน พบในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งในนิกายสรวาสติวาทและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตสาขานี้ที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งเป็นที่รู้จักทั้งในอินเดียและจีน คือ พระภิกษุชาวจีนชื่อ พระเสวียนจั้ง หรือในชื่อที่ชาวไทยเรียกว่า พระถังซัมจั๋ง ภาษาสันสกฤตจัดอยู่ในภาษาอินเดีย-ยุโรป เป็นตระกูลภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สันสกฤต : संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; อังกฤษ: Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น      (วิกิพีเดีย. ออนไลน์. 2560) โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ นักปราชญ์ทางภาษาได้แบ่งภาษาตระกูลอารยันในอินเดียออกเป็น 3 สมัย (พัฒน์ เพ็งผลา. 2541 : 9-12) ดังนี้

ภาษาสมัยเก่า หมายถึง ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระเวท ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท รวมตลอดทั้งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายของคัมภีร์พระเวท (เวทานต์) ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้จะมีความเก่าแก่ลดหลั่นกันมาตามลำดับ ภาษาสันสกฤตก็จัดอยู่ในสมัยนี้ด้วย

ภาษาสมัยกลาง ได้แก่ ภาษาปรากฤตซึ่งเป็นภาษาถิ่นของชาวอารยันที่ใช้กันท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศอินเดีย เช่น ภาษามาคธี มหาราษฏรี เศารเสนี เป็นต้น ภาษาในสมัยนี้มีลักษณะโครงสร้างทางเสียง และนอกจากจะเรียกว่าภาษาปรากฤตแล้วยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภาษาการละคร” เพราะเหตุที่นำไปใช้เป็นภาษาพูดของตัวละครบางตัวในบทละครสันสกฤตด้วย

ภาษาสมัยใหม่  ได้แก่ ภาษาต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี เบงกาลี ปัญจาบี มราฐี เนปาลี เป็นต้น ภาษาเหล่านี้แม้จะเข้าใจกันว่าสืบมาจากภาษาปรากฤต  แต่มีลักษณะของภาษาผิดกันมาก  เพราะมีภาษาตระกูลอื่นที่ไม่ได้สืบมาจากภาษาของชาวอารยันเข้าไปปะปนกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า “กลั่นกรองแล้ว” ส่วนคำว่า สํสฺกฤตา วากฺ (संस्कृता वाक्) จะใช้เพื่อเรียก “ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว” ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ตรงข้ามกับภาษาพูดของชาวบ้านทั่วไปที่เรียกว่าปรากฤต ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการในหลายยุคสมัย โดยมีหลักฐานเก่าแก่ที่สุด คือภาษาที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท (เมื่อราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล) อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าในลัทธิพราหมณ์ในยุคต้นๆ อย่างไรก็ตาม ในการจำแนกภาษาสันสกฤตโดยละเอียด นักวิชาการอาจถือว่าภาษาในคัมภีร์ฤคเวทเป็นภาษาหนึ่งที่ต่างจากภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical language) และเรียกว่า ภาษาพระเวท (Vedic language) ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้าง ๆ ปรากฏอยู่ในบทสวดในคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู เนื้อหาคือบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า เอกลักษณ์ที่ปรากฏอยู่เฉพาะในภาษาพระเวทคือระดับเสียง (Accent) ซึ่งกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และถือเป็นสิ่งสำคัญของการสวดพระเวทเพื่อให้สัมฤทธิผล ภาษาสันสกฤตมีวิวัฒนาการมาจากภาษาชนเผ่าอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน (Indo-European) บรรพบุรุษของพวกอินโด-อารยัน ตั้งรกรากอยู่เหนือเอเซียตะวันออก (ตอนกลางของทวีปเอเชีย – Central Asia) โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง กลุ่มอารยันต้องเร่ร่อนทำมาหากินเหมือนกันชนเผ่าอื่นๆ ในจุดนี้เองที่ทำให้เกิดการแยกย้ายถิ่นฐาน การเกิดประเพณี และภาษาที่แตกต่างกันออกไป ชนเผ่าอารยันได้แยกตัวกันออกไปเป็น 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มที่ 1 แยกไปทางตะวันตกเข้าสู่ทวีปยุโรป กลุ่มที่ 2 ลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ อนุมานได้ว่าน่าจะเป็นชนชาติอิหร่านในเปอร์เซีย และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุด กลุ่มนี้แยกลงมาทางใต้ตามลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus) ชาวอารยันกลุ่มนี้เมื่อรุกเข้าในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุแล้ว ก็ได้ไปพบกับชนพื้นเมืองที่เรียกว่า ดราวิเดียน (Dravidian) และเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและภาษา โดยชนเผ่าอารยันได้นำภาษาพระเวทยุคโบราณเข้าสู่อินเดียพร้อมๆ กับความเชื่อทางศาสนา เมื่อได้ยินคำว่าสันสกฤต หลายคนคงรู้สึกขึ้นมาทันทีว่ายาก แต่ความยากง่ายนั้นเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ อย่าเพิ่งไปคิดว่ายากหรือง่าย ขอให้ทราบแต่ว่ามีการเรียนภาษาสันสกฤตมาช้านานจนปัจจุบันก็ยังมีการเรียนภาษาสันสกฤต และมีผู้เรียนจบปริญญาตรี โท เอก อย่างต่อเนื่อง แต่ภาษาสันสกฤตนั้นเกี่ยวข้องกับคนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม. ออนไลน์. 2560) คำศัพท์ในภาษาไทยนั้นมีคำสันสกฤตอยู่เกือบครึ่งเลยทีเดียว ส่วนชื่อบุคคลชาวไทยเป็นภาษาสันสกฤตน่าจะเกินครึ่ง ลองสำรวจชื่อตนเองและเพื่อนๆ ดู ถ้าไม่แน่ใจลองเปิดพจนานุกรมไทย ท่านจะวงเล็บบอกไว้ แล้วท่านจะตะลึง ว่าภาษาสันสกฤตปนอยู่ในภาษาไทยมากถึงเพียงนี้ ภาษาสันสกฤตเกี่ยวข้องกับคนไทยมาช้านาน มีการใช้คำสันสกฤตตั้งแต่สมัยโบราณ เริ่มจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็พบคำว่า ศรีอินทราทิตย์ เป็นศัพท์สันสกฤตล้วนๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าจากนิยายสันสกฤต เช่น รามายณะ มหาภารตะ ปัญจตันตระ และอื่นๆ ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และพุทธศาสนาในประเทศไทยก็ใช้ภาษาบาลี แต่คำที่ใช้ในการศาสนาเองกลับมีศัพท์สันสกฤต เช่น ธรรม กรรม ศาสนา บาตร ศีล กุศล ภิกษุ เป็นต้น

 

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาเก่า มีมาก่อนพุทธศาสนา (จึงมีอายุมากกว่า 2500 ปี) อยู่ในตระกูลที่เรียกว่า อินเดียยุโรป (Indo-European Family) ซึ่งเก่าแก่หลายพันปีก่อน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะเฉพาะคือ มีการเปลี่ยนเสียงเพื่อบอกความหมาย หรือหน้าที่ของคำ ต่างจากคำในภาษาไทย ไม่มีการเปลี่ยนเสียงแต่อย่างใด ภาษาในตระกูลนี้ได้แก่ กรีก ละติน เปอร์เซีย เยอรมันโบราณ เป็นต้น

  1. ภาษาสันสกฤต 3 ชั้น

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาเก่าแก่ การใช้ภาษาและลักษณะของภาษาแตกต่างไปตามท้องถิ่นและยุคสมัย หากพิจารณาตามลักษณะทางคำศัพท์และไวยากรณ์ อาจแบ่งเป็น 3 ยุค อย่างคร่าวๆ คือ

             1.1 ภาษาพระเวท (Vedic Sanskrit) น่าจะอยู่ราว 500-1000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นภาษาที่พบได้ในคัมภีร์ฤคเวท สังหิตา มันตระในพระเวทต่างๆ รูปไวยากรณ์มีความหลากหลาย ตามสำนักและท้องถิ่น มีลักษณะเด่นคือการเน้นเสียง (accent) ของคำ และมาลา (Mood) บางอย่างที่ไม่ปรากฏในยุคหลัง ภาษาพระเวท ซึ่งเก่าแก่มาก เป็นภาษาที่ใช้ในวรรณคดีพระเวทรุ่นเก่าที่สุด และภาษาแบบแผน คือช่วงหลังพระเวท สมัยพุทธกาลลงมา ปรากฏในวรรณคดีส่วนใหญ่ที่เรารู้จัก       รามายณะและมหาภารตะก็อยู่ในกลุ่มหลังนี้ อย่างไรก็ตามยังมีการแบ่งกลุ่มภาษาสันสกฤตผสม หรือสันสกฤตในพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งปรากฏในสมัยหลัง ภาษาแต่ละแบบนั้นมีคำศัพท์และไวยากรณ์ในแนวทางเดียวกัน แต่แตกต่างในส่วนปลีกย่อย ตำราภาษาสันสกฤตเบื้องต้นจึงเริ่มที่ภาษาสันสกฤตแบบแผน ซึ่งมีไวยากรณ์ค่อนข้างแน่นอนตายตัว

1.2 ภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit) อยู่ในช่วงปลายสมัยพระเวทลงมาไวยากรณ์มีแบบแผน รัดกุม มีการแต่งไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตแบบแผนมากมาย ส่วนหนึ่งก็เพื่อจัดระเบียบ หรือหารูปแบบที่ชัดเจน คัมภีร์ไวยากรณ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด น่าจะเป็นตำราแปดเล่มของปาณินิ ด้วยความเป็นระบบระเบียบนี้เอง ภาษาสันสกฤตแบบแผนจึงอาจจะศึกษาเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากทุกอย่างเป็นไปตามกฎกติกา (พร้อมกับข้อยกเว้น) ทำให้มีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือสังเคราะห์ไวยากรณ์อย่างหลากหลาย (การเขียนกฎไวยากรณ์ของภาษายุคอื่นทำได้ยาก และยุ่งยากกว่ามาก) สำนักเรียนส่วนใหญ่จึงให้เรียนภาษาสันสกฤตแบบแผน ก่อนจะไปเรียนภาษาสันสกฤตแบบอื่น เอกสาร ตำราไวยากรณ์ และพจนานุกรม ภาษาสันสกฤตส่วนใหญ่จะใช้ภาษาสันสกฤตแบบแผนเป็นหลัก ภาษาสันสกฤตแบบแผน เกิดขึ้นจากการวางกฎเกณฑ์ของภาษาสันสกฤตให้มีแบบแผนที่แน่นอนในสมัยต่อมา โดยนักปราชญ์ชื่อปาณินิตามประวัติเล่าว่าเป็นผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์แคว้นคันธาระราว 57 ปีก่อนพุทธปรินิพพาน บางกระแสว่าเกิดราว พ.ศ.143 ปาณินิได้ศึกษาภาษาในคัมภีร์พระเวทจนสามารถหาหลักเกณฑ์ของภาษานั้นได้ จึงจัดรวบรวมขึ้นเป็นหมวดหมู่ เรียบเรียงเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บทให้ชื่อว่าอัษฏาธยายีมีสูตรเป็นกฎเกณฑ์อธิบายโครงสร้างของคำอย่างชัดเจน นักวิชาการสมัยใหม่มีความเห็นว่า วิธีการศึกษาและอธิบายภาษาของปาณินิเป็นวิธีวรรณนา คือศึกษาและอธิบายตามที่ได้สังเกตเห็นจริง มิได้เรียบเรียงขึ้นตามความเชื่อส่วนตัว มิได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักปรัชญา คัมภีร์อัษฏาธยายี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่ศึกษาภาษาในแนววิทยาศาสตร์และวิเคราะห์ภาษาได้สมบูรณ์ที่สุด ความสมบูรณ์ของตำราเล่มนี้ทำให้เกิดความเชื่อในหมู่พราหมณ์ว่า ตำราไวยากรณ์สันสกฤตหรือปาณินิรจนานี้ สำเร็จได้ด้วยอำนาจพระศิวะอย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าการวางแบบแผนอย่างเคร่งครัดของปาณินิ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาสันสกฤตต้องกลายเป็นภาษาตายอย่างรวดเร็วก่อนเวลาอันควร เพราะทำให้สันสกฤตกลายเป็นภาษาที่ถูกจำกัดขอบเขต (a fettered language) ด้วยกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ที่เคร่งครัดและสลับซับซ้อน ภาษาสันสกฤตที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ให้ดีขึ้นโดยปาณินินี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เลากิกภาษา” หมายถึงภาษาที่ใช้กับสิ่งที่เป็นไปในทางโลก

1.3 ภาษาสันสกฤตผสม (Buddhist Hybrid Sanskrit หรือ Mixed Sanskrit) พบในราว 4 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยมากใช้บันทึกคัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีลักษณะโครงสร้างหลักแบบเดียวกับภาษาสันสกฤตแบบแผน แต่มีรูปแบบปลีกย่อยเพิ่มเติม มีรูปศัพท์หลายรูปที่คล้ายกับบาลี และแตกต่างจากสันสกฤตแบบแผน จนบางครั้งเรียกว่าภาษาสันสกฤตแบบไม่สมบูรณ์ (Broken) เช่น ภิกฺโษสฺ (ของภิกษุรูปหนึ่ง) ในภาษาสันสกฤตแบบแผน (อุ การานต์) แต่ภาษาสันสกฤตผสมอาจใช้ ภิกฺษุสฺย (โดยใช้แนวเทียบกับอะการานต์) เป็นต้น ภาษาสันสกฤตผสมจึงไม่มีแบบแผนที่ตายตัว วรรณคดีในพุทธศาสนาที่ใช้ภาษาสันสกฤตแบบแผนก็มี เช่น งานเขียนอัศวโฆษ หรือนาคารชุน ภาษาสันสกฤตผสมเป็นภาษาสันสกฤตที่นักวิชาการบางกลุ่มได้จัดไว้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีความแตกต่างจากภาษาพระเวทและภาษาสันสกฤตแบบแผน (ตันติสันสกฤต) ภาษาสันสกฤตแบบผสมนี้คือภาษาที่ใช้บันทึกวรรณคดีสันสกฤตทางพระพุทธศาสนาทั้งในนิกายสรรวาสติวาทและมหายานภาษาสันสกฤตชนิดนี้คาดว่าเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 3-4 นักปราชญ์บางท่านถือว่าเกิดขึ้นร่วมสมัยกับตันติสันสกฤต คือในปลายสมัยพระเวทและต้นของยุคตันติสันสกฤต โดยปรากฏอยู่โดยส่วนมากในวรรณกรรมของพระพุทธศาสนามหายาน อาทิ พระสูตรเช่นลลิตวิสฺตรลงฺกาวตารสูตฺรปฺรชฺญาปารมิตา สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตฺรและศาสตร์อันเป็นคำอธิบายหลักพุทธปรัชญาและตรรกวิทยาเช่น มธฺยมิกการิกา อภิธรฺมโกศ มหาปฺรชฺญาปารมิตาศาสฺตฺร มธฺยานฺตานุคมศาสฺตฺร เป็นต้น ภาษาสันสกฤตแต่ละแบบไม่ได้แยกขาดจากกันเสียทีเดียว และระยะเวลาก็ไม่สามารถระบุได้เด็ดขาด พอจะประมาณได้คร่าวๆ ตามเวลาที่แต่งคัมภีร์ต่างๆ เท่าที่พบและรอดมาจนถึงปัจจุบันเท่านั้น

  1. ตัวอักษรที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤต

ในการเขียนภาษาสันสกฤตของนักศึกษาไทยโดยทั่วไปนั้น ตัวอักษรที่เราจะต้องใช้มี 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย อักษรเทวนาครี อักษรโรมัน และอักษรไทย

2.1 อักษรเทวนาครี เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตในอินเดีย อักษรเทวนาครี  (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; อังกฤษ : Devanagari) มีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่างๆ

2.2 อักษรโรมัน เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตของคนในวงการศึกษาภาษาสันสกฤตทั่วโลก ซึ่งก็จะทำให้ภาษาสันสกฤตนั้นแพร่หลายและกระจายจากจุดเดิมมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

2.3 อักษรไทย เป็นอักษรที่คนไทยนิยมใช้เขียนภาษาสันสกฤตได้เกือบ 100% ยกเว้นเครื่องหมายสามสี่ตัวเท่านั้นเอง

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาทางศาสนาและวรรณคดี ทั้งเป็นภาษาที่ยังมีศึกษาและยังใช้กันอยู่ในการพูดตลอดจนการเขียนในส่วนต่างๆ ของประเทศอินเดีย ตั้งแต่เหนือแคว้นแคชเมีย (กัษมีร) จนถึงใต้คือแหลมโคโมรินและตั้งแต่ตะวันออก คือ กัลป์กันตาจนถึงตะวันตกคือบอมเบ ภาษาสันสกฤตนี้ผู้เป็นเจ้าของยกย่องว่ามีสำเนียงไพเราะ แต่งถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ที่สมบูรณ์ (พัฒน์ เพ็งผลา.  2541 : 13) อนึ่งภาษาสันสกฤตนี้ ถือว่าเป็นภาษาของคนที่เจริญรุ่งเรืองและประเสริฐ (เทว) ดังนั้น อักษรที่ใช้เขียนในภาษาจึงเรียกว่า “เทวนาครี” แปลว่า อักษรที่ใช้ในเมืองของเทวดา

คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า “กลั่นกรองแล้ว” ส่วนคำว่า สํสฺกฤตา วากฺ (संस्कृतावाक्) จะใช้เพื่อเรียก “ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว” ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์

วิธีสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต

1. ดูที่สระ   สระในภาษาสันสกฤตมี  14  ตัว  คือ   อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  ไอ  เอา  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ

2. ดูที่พยัญชนะ    พยัญชนะสันสกฤตมี  35 ตัว    เพิ่มมากกว่าภาษาบาลี  2 ตัว  คือ   ศ  ษ    ฉะนั้นถ้าพบคำที่มีตัว  ศ  ษ   ก็หมายความว่า   เป็นคำที่มรจากภาษาสันสกฤต

3. คำในภาษาสันสกฤต    เมื่อมีตัวสะกด  จะมีตัวตามก็ได้

ไม่มีก็ได้    ที่ไม่มีตัวตาม  เช่น    มนัส (ใจ)   กริน (ช้าง)   มรุต (เทวดา)    เป็นต้น            ตัวสะกดที่มีตัวตาม    ไม่ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน    แต่ให้เป็นพยัญชนะมีเสียงเหมือนกัน  คือ   เป็นโฆษะ (เสียงก้อง)   ก็โฆษะเหมือนกัน     ถ้าตัวสะกดเป็นอโฆษะ (เสียงไม่ก้อง)   ก็เป็น  อโฆษะด้วย    (เสียงโฆษะ  และอโฆษะ   ดูที่พยัญชนะวรรค    พยัญชนะวรรค 1  และ  2    เป็น  อโฆษะ    พยัญชนะวรรค 3, 4  และ 5   เป็นโฆษะ)   เช่น    มุกตฺ (ไทยใช้มุกดา)  ทั้ง  ก  และ  ต  เป็นอโฆษะ    เป็นต้น

4. คำที่มี  ร หัน   ที่ไม่ใช่คำแผลง  มาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  ในภาษาสันสกฤต  เช่น   ธรฺม =  ธรรม    วรฺณ  =  วรรณ    เป็นต้น            คำแผลงในภาษาไทยที่แผลงมาจาก    ประ  กระ  คระ    เช่น    กระเช้า    กรรเช้า    ประทุก    บรรทุก    คระโลง    ครรโลง    ไม่ใช่คำภาษาสันสกฤต

๕. คำภาษาบาลีใช้  ฬ   ภาษาสันสกฤตจะใช้  ฑ   เช่นบาลีว่า  กีฬา    สันสกฤตว่า  กรีฑาบาลีว่า  ครุฬ    สันสกฤตว่า  ครุฑบาลีว่า  จุฬา    สันสกฤตว่า  จุฑา

๖. คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ   เช่น    ประถม  ประพฤติ  สตรี  บุตร  จักร  อัคร  ประโยค  ปราการ  สงคราม  พราหมณ์

 

๗. คำในภาษาสันสกฤตที่อยู่ในภาษาไทย    จะมีคำว่าเคราะห์อยู่ในคำนั้น   เช่น    พิเคราะห์   สังเคราะห์   สงเคราะห์   อนุเคราะห์

พยัญชนะและสระภาษาสันสกฤตมีรูปอักษร 46 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะ 33 ตัว สระ 14 ตัว การศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทย นิยมใช้อักษร 3 ชนิด คือ อักษรไทย อักษรเทวนาครีและอักษรโรมัน ในที่นี้จะแสดงสระและพยัญชนะด้วยอักษรไทยสระ 14 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ แบ่งได้เป็น 3 ขั้นคือ ขั้นปกติ ขั้นคุณ ขั้นพฤทธิ์ พยัญชนะ 33 ตัวแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

  • พยัญชนะวรรค แบ่งเป็น 5 วรรค คือ
    • วรรค กะ เสียงเกิดที่คอ ได้แก่ ก ข ค ฆ ง
    • วรรค จะ เสียงเกิดที่เพดาน ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ญ
    • วรรค ฏะ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ได้แก่ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
    • วรรค ตะ เสียงเกิดที่ฟัน ได้แก่ ต ถ ท ธ น
    • วรรค ปะ เสียงเกิดที่ริมฝีปาก ได้แก่ ป ผ พ ภ ม
  • พยัญชนะอวรรค แบ่งเป็น
    • เสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย เสียงเกิดที่เพดาน ร เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ล เสียงเกิดที่ฟัน ว เสียงเกิดที่ริมฝีปาก
    • เสียงเสียดแทรก ได้แก่ ศ เสียงเกิดที่เพดาน ษ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ส เสียงเกิดที่ฟัน
    • เสียงหนักมีลม ได้ แก่ ห

พยัญชนะไทยที่เขียนลำพังโดยไม่มีสระอื่นถือว่ามีเสียงอะ ถ้ามีจุดข้างล่างถือว่าไม่มีเสียงสระ

คำนามภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่มีการลงวิภัตติปัจจัย แจกนามได้ถึง 8 การก {แบ่งเป็น 3พจน์ (เอกพจน์, ทวิพจน์, พหูพจน์) และสามเพศ (สตรีลิงค์ปุลลิงก์ และนปุงสกลิงก์) }  คำกริยาสำหรับกริยา (ธาตุ) ในภาษาสันสกฤตนั้นมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคำนาม กล่าวคือ จำแนกกริยาไว้ถึง 10 คณะ แต่ละคณะมีการเปลี่ยนรูป (เสียง) แตกต่างกันไป กริยาเหล่านี้จะแจกรูปตามประธาน 3 แบบ (ปฐมบุรุษ, มัธยมบุรุษ และอุตมบุรุษ) นอกจากนี้กริยายังต้องแจกรูปตามกาล (Tense) 6 ชนิด และตามมาลา (Mood) 4 ชนิดการสร้างคำในภาษาสันสกฤต
1. การสมาส (ดูภาษาบาลี) ชน

เช่น ศิลป + ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์, มานุษย + วิทยา = มานุษยวิทยา

  1. การสนธิ (ดูภาษาบาลี) เชื่อม
  2. การใช้อุปสรรค คือ การเติมพยางค์ประกอบหน้าศัพท์เป็นส่วนขยายศัพท์ ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป

คำยืมจากภาษาสันสกฤตในภาษาไทยที่ใช้บ่อย

กนิษฐ์ น้อง, น้อย (คู่กับเชษฐ์)
กบฎ (กะบด) พญาลิง (กปิ + อินทร)
กรกฎ (กอระกด) ปู ; ชื่อกลุ่มดาวปู
กรม (กฺรม) ลำดับ
กรรณ (กัน) หู, ใบหู
กรรณิกา (กัน-) ดอกไม้
กรรม (กำ) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบันหรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปยังอนาคต
กรรมกร (กำมะกอน) ผู้ใช้แรงงาน, คนงาน, ลูกจ้าง (กรฺม+ กร)
กรรมการ (กำมะกาน) คณะบุคคลที่ร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย (กรฺม + การ)
กรรมฐาน (กำมะถาน) ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ
กรรมพันธุ์ (กำมะพัน) มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, ลักษณะนิสัย-โรคที่สิบมาจากพ่อแม่ (กรฺม + พนฺธุ)
กรรมวาจา (กำมะ-) คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์ (กรฺม + วาจา)
กรรมสิทธิ์ (กำมะสิด) ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (กรฺม + สิทฺธิ)
กระษาปณ์ (-สาบ) เงินตราที่ทำด้วยโลหะ กษาปณ์ก็ใช้
กริยา คำที่แสดงอาการของนาม หรือสรรพนาม
กรีฑา กีฬาประเภทลู่และลาน ; การเล่นสนุก
กฤษฎี (กฺริดสะดี) รูป
กษมา (กะสะมา) ความอดกลั้น, ความอดโทษ ; กล่าวคำขอโทษ
กษัตริย์ (กะสัด) พระเจ้าแผ่นดิน ใช้เต็มคำว่า พระมหากษัตริย์

 

กันยา นางงาม, สาวรุ่น, สาวน้อย
กัลป์ ระยะเวลานานมาก โบราณถือว่าโลกประลัยครั้งหนึ่งคือสิ้นกัลป์หนึ่ง
กัลปพฤกษ์ (กันละปะพรึก) ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลตามปรารถนา
กัลปาวสาน (กันละปาวะสาน) ที่สุดแห่งระยะแวลาอันยาวนาน (กลฺป + อวสาน)
กาญจนา ทอง
กานต์ เป็นที่รัก (มักเป็นส่วนท้ายของสมาส)
กาพย์ คำร้อยกรองจำพวกหนึ่ง
กายกรรม (กายยะกำ) การทำด้วยกาย ; การตัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง (กาย + กรฺม)
กาลเทศะ (กาละเทสะ) เวลาและสถานที่ ; ความควรไม่ควร
กาลกิณี (กาละ-, กานละ) เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล
กาลี ชั่วร้าย, เสนียดจัญไร
กาสร (กาสอน) ควาย
กำจร (กำจอน) ฟุ้งไปในอากาศ
กีรติ เกียรติ, ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ
กุลบุตร (กุลละบุด) ลูกชายผู้มีตระกูล
กุลสตรี (กุนละสัดตฺรี) หญิงผู้มีตระกูล
กุศล (-สน) สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ ; ฉลาด
เกลศ (กะเหฺลด) กิเกส
เกศ (เกด) ผม, หัว
เกษตร (กะเสด) ที่ดิน, ทุ่งนา, ไร่
เกษม (กะเสม) ความสุขสบาย, ความปลอดภัย
เกษียณ (กะเสียน) สิ้นไป
เกษียรสมุทร ทะเลน้ำนม (กฺษีร + สมุทร)
เกียรติ์ (เกียด) ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ
โกเมน พลอยสีแดงเข้ม
โกรธ (โกฺรด) ขุ่นเคืองใจอย่างแรง ; ไม่พอใจมาก
โกศ (โกด) ที่ใส่ศพนั่งเป็นรูปกลมทรงกระบอกฝาครอบมียอด ; ที่ใส่กระดูกผี
โกศล (โกสน) ฉลาด
คเชนทร์ (คะเชน) พญาช้าง (คช + อินฺทร)
คณาจารย์ อาจารย์ของหมู่คณะ, คณะอาจารย์ (คณ + อาจารฺย)
คณิตศาสตร์ (คะนิดตะสาด) วิชาว่าด้วยการคำนวณ (คณิต + ศาสฺตฺรย)
ครรภ์ (คัน) ท้อง (เฉพาะท้องหญิงมีลูก)
คราส (คฺราด) กิน ; จับ ; ถือ
ครุฑ (คฺรุด) พญานก พาหนะของพระนารายณ์
คฤหบดี (คะรึหะบอดี) ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน
คฤหัสถ์ (คะรึหัด) ฆราวาส, ผู้ครองเรือนที่ไม่ใช่นักบวช
คามภีร์ (คามพี) ลึกซึ้ง
คุปต์ รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง
เคหสถาน (เคหะ-) บ้านเรือน, ที่อยู่อาศัยรวมพื้นที่บริเวณที่เป็นที่อยู่
เคารพ (เคารบ) แสดงอาการนับถือ, ไม่ล่วงเกิน
โคตร (โคด) วงศ์ตระกูล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล
โฆษก (โคสก) ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา
โฆษณา (โคดสะนา) การเผยแพร่หนังสือออกสู่สาธารณชน ; ป่าวประกาศ
โฆษิต กึกก้อง, ป่าวร้อง
จงกรม (จงกฺรม) เดินไปมาในที่ที่กำหนดอย่างพระเจริญกรรมฐานเดิน
จตุร สี่ (ใช้ประกอบหน้าคำอื่น)
จรรยา (จันยา) ความประพฤติ ; กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ (ใช้ทางดี)
จักร (จัก) อาวุธในนิยายรูปเป็นวงกลมมีแฉกโดยรอบ
จักรพรรดิ (จักกระพัด) พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ

คำยืมภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในบทเรียนเย็นศิระเพราะพระบริบาล 

เพลงสรรเสริญพระบารมี

คำร้อง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทำนอง : ปโยตร์ สซูโรฟสกี้    ข้าวรพุทธเจ้า                   เอามโนและศิระกราน           นบพระภูมิบาลบุญดิเรก             เอกบรมจักริน           พระสยามินทร์                          พระยศยิ่งยง

เย็นศิระเพราะพระบริบาล           ผลพระคุณ ธ  รักษา

ปวงประชาเป็นสุขศานต์              ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด

จงสฤษฏ์ดังหวังวรหฤทัย            ดุจถวายชัย ไชโย

จากเพลงนี้ได้มีคำยืมจากภาษาสันสกฤตมาทั้งสิ้น 19 คำด้วยกัน ได้แก่

ศิระ แปลว่า ศีรษะ หัว มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศิร    ภูมิบาล แปลว่า พระมหากษัตริย์  มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ภูมิปาล    เอก แปลว่า หนึ่ง มาจากภาษาสันสกฤตว่า เอก    บรม แปลว่า อย่างยิ่ง อย่างที่สุด มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ปรม     จักริน แปลว่า ผู้มีจักรเป็นอาวุธ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า จกริน    สยามินทร์ แปลว่า กษัตริย์แห่งประเทศสยาม มาจาก สยาม กับ อินทร์มาจากภาษาสันสกฤต ว่า อินทร    ยศะ แปลว่า ชื่อเสียง ความรุ่งเรือง คำว่า ยศ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ยศส    บริบาล แปลว่า คุ้มครองโดยรอบ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ปริปาล    ผล แปลว่า สิ่งที่เกิดตามมา มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ผล    คุณ แปลว่า ความดี มาจากภาษาสันสกฤต ว่า คุณ    รักษา แปลว่า ปกป้อง คุ้มครองให้ปลอดภัย มาจากภาษาสันสกฤต ว่า รกษา    ประชา แปลว่า ราษฎร ลูกหลาน มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ปรชา    สุข แปลว่า สบาย มาจากภาษาสันสกฤต ว่า สุข    ศานต์ แปลว่า สุขสงบ   มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ศานติ    ประสงค์ แปลว่า จำนง ต้องการ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ปรสงค    หฤทัย แปลว่า หัวใจ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า หฤทย    ชัย แปลว่า ความชนะ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ชย    ไชโย แปรตามรูปศัพท์ ว่า ความชนะ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า ชโย

แหล่งอ้างอิง:

ภาทิพ ศรีสุทธิ์. “คำยืมในภาษาไทย”.www.st.ac.th. ไม่ปรากฏวันที่เผยแพร่. ภาทิพ ศรีสุทธิ์ . 17 พฤศจิกายน 2553.